แพทย์ในกรุงเทพฯ วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์ด้วย AI ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยผู้ป่วยที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น เกษตรกรใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากระบบ AI มาวินิจฉัยข้าวและวิเคราะห์ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด ในการเกษตรทางภาคกลางของประเทศไทย ตัวอย่างเหล่านี้ไม่ใช่ความฝันอันเลือนรางอีกต่อไป แต่คือความเป็นจริงที่เผยให้เห็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของ AI ในประเทศไทย
AI กำลังเริ่มปฏิรูปอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบริการดูแลสุขภาพไปจนถึงการเกษตร แม้ว่าเส้นทางยังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่ AI ก็มีศักยภาพมหาศาลในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วน
ในบล็อกโพสต์นี้ เราจะมาเจาะลึกกันว่า AI จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งและปลอดภัย นอกจากนี้ เรายังจะศึกษาว่าผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทำงานด้วยระบบ AI ของ Google กำลังช่วยปลดล็อกศักยภาพของประเทศไทย ผลักดันให้ธุรกิจเติบโต และช่วยคนทั่วไปให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
การเร่งการนำ AI มาใช้สำหรับธุรกิจไทย
วงการเทคโนโลยีของไทยนั้นเอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม ทั้งสตาร์ทอัพและบริษัทที่มีชื่อเสียงต่างนำ AI มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างโอกาสใหม่ๆ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมระบบนิเวศนี้ ด้วยการริเริ่มโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและดึงดูดการลงทุนด้าน AI และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
แนวทางเชิงรุกในการพัฒนา AI นี้ได้นำมารวบรวมไว้ในแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) (National AI Strategy and Action Plan 2022 – 2027 หรือ NAIS) ที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นในด้านสำคัญต่างๆ เช่น กฎระเบียบและจริยธรรม, โครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI, การพัฒนาบุคลากร, การวิจัยและนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ AI ทั้งในภาครัฐและเอกชน
เมื่อปีที่แล้ว เราได้นำเสนอข้อมูลว่า การนำ AI ไปใช้สามารถช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่ง โดยจะปลดล็อกผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 2.6 ล้านล้านบาทสำหรับภาคธุรกิจในปี 2030 ซึ่งคิดเป็น 15% ของโอกาสด้าน AI ในปี 2030 สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว
การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าภาคส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะการผลิต การบริโภค ค้าปลีกและธุรกิจบริการ ตลอดจนบริการด้านการขนส่ง คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ AI
รายละเอียดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรายปีที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ใช้ AI แยกตามภาคส่วน (%, 2030)
การเข้าถึง AI ในชีวิตประจำวันด้วย Google
ธุรกิจต่างๆ ของไทยสามารถเข้าใช้งาน AI ผ่านผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ที่ทำงานด้วยระบบ AI ของ Google เราประมาณการว่า
ในปี 2023 Google Search, Google Ads, Google AdSense, Google Play, Google Cloud และ YouTube ได้ช่วยทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำหรับธุรกิจต่างๆ เป็นมูลค่าถึง 1.742 แสนล้านบาท
กิจกรรมดังกล่าวรวมถึง
- 40% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (6.94 หมื่นล้านบาท) เป็นรายได้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
- ผลประโยชน์ด้านการส่งออกมูลค่า 2.29 หมื่นล้านบาท
ในปี 2023 Google Search, Google Ads, Google AdSense, Google Play และ YouTube ได้ช่วยให้เกิดผลประโยชน์ด้านการส่งออกจากตลาดต่างประเทศให้ธุรกิจในประเทศเป็นมูลค่าถึง 2.29 หมื่นล้านบาท - งาน 184,100 ตำแหน่ง
ในปี 2023 ทาง Google ได้สนับสนุนงานกว่า 184,100 ตำแหน่งด้วยการช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เติบโตผ่านการใช้ Google Search, Google Ads, Google AdSense, Google Cloud และ YouTube โดยที่ระบบเศรษฐกิจแอป Android ได้สนับสนุนงานเพิ่มเติมอีกกว่า 93,000 ตำแหน่ง
หลากหลายธุรกิจในไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทำงานด้วยระบบ AI ของ Google เพื่อขยายการดำเนินงาน ตั้งแต่ธุรกิจแฟชั่นไปจนถึงการบริการดูแลสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่บริษัทเภสัชกรรมอย่างไทยโอซูก้าใช้ AI จากโซลูชันโฆษณาของ Google เพื่อเพิ่มรายได้ถึง 44% และวิธีที่บริษัทอย่าง KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) Labs สร้างนวัตกรรมโซลูชัน AI ด้วย Google Cloud
ภายใต้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับรัฐบาลไทย Google ได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเร่งการนำ AI มาใช้ในภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของ Google Cloud ในการติดตั้งใช้งานโซลูชัน Generative AI เพื่อสาธารณประโยชน์ ส่วนที่สำคัญๆ ประกอบไปด้วยบริการภาครัฐบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีทางการเงิน ระบบบริการสาธารณสุข การศึกษา และการขนส่ง
การสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งและปลอดภัย
ในการเร่งการนำ AI มาใช้ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งและปลอดภัยจะสำคัญกว่าที่ผ่านมา ในความเป็นจริงแล้ว AI เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัย ซึ่งจะส่งเสริมนวัตกรรม AI เราพบว่าหากธุรกิจนำความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ทำงานด้วยระบบ AI มาใช้ จะป้องกันความสูญเสียจากอาชญากรรมไซเบอร์ได้ถึง 1.5 แสนล้านบาทสำหรับประเทศไทยในปี 2030
การเสริมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของ Google
Google ได้ทำงานร่วมกับประเทศไทยเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากการช่วยให้คนไทยสร้างทักษะด้านความปลอดภัยออนไลน์ผ่านโครงการ Safer Songkran แล้ว เรายังร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการเปิดตัวฟีเจอร์ความปลอดภัย Google Play Protect ใหม่ไปเมื่อเดือนเมษายน 2024 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 2 ในโลกที่ได้ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้ชาวไทยจะได้รับการปกป้องจากการติดตั้งแอปความเสี่ยงสูงจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
[ภาพหน้าจอฟีเจอร์ความปลอดภัย] 2024 [รูปภาพ] Google
นอกจากจะมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยแล้ว Google ยังลงทุนในการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทยด้วย ล่าสุดมีการลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลในชลบุรีและ Google Cloud Region ในกรุงเทพฯ
โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า “รัฐบาลไทยรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องของ Google ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาในการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลที่จำเป็นให้แก่คนไทยหลายล้านคน รวมถึงแผนล่าสุดในการมอบเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานในโลกแห่งอนาคตให้แก่ประชาชนชาวไทยจำนวนมากขึ้น”
โครงการเหล่านี้มีส่วนร่วมต่อการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทยที่จะสนับสนุนนวัตกรรมที่ทำงานด้วยระบบ AI และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การทำให้คนไทยมีทักษะที่พร้อมใช้งาน AI
ในการใช้ประโยชน์จากโอกาสด้าน AI อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีบุคลากรที่พร้อมสำหรับ AI โดยภายใต้ยุทธศาสตร์ NAIS นี้ได้มีการจัดสรรงบประมาณ 1.5 พันล้านบาทสำหรับโครงการระดับเรือธง โดยที่ 1 พันล้านบาทจะนำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI ของประเทศให้ได้ 30,000 คน
เป็นที่น่ายินดีว่า งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแรงงานไทยยอมรับ AI ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดย 92% ของผู้ปฏิบัติงานด้วยฐานความรู้ (Knowledge Workers) จะใช้ AI ในการทำงาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% อย่างเห็นได้ชัด ประชากรที่มีความรู้ด้านดิจิทัลจะพร้อมยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งสำหรับการนำ AI มาใช้ต่อไป
การสร้างบุคลากรที่พร้อมสำหรับ AI ด้วย Google
Google กำลังช่วยเสริมสร้างทักษะด้านการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและ AI ที่จำเป็นให้กับคนไทย เพื่อให้ประสบความสำเร็จในภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ โดยตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา Google ได้ฝึกอบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลให้คนไทยไปแล้วกว่า 3.6 ล้านคน ตัวอย่างบางโครงการล่าสุด
- Samart Skills: นักเรียน/นักศึกษาและผู้หางานกว่า 13,000 คนได้รับการฝึกอบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
- Gemini Academy: Google ตระหนักถึงความสำคัญของความฉลาดรู้ด้าน AI ในการศึกษา จึงได้ฝึกอบรมครูผู้สอนกว่า 20,000 คนผ่าน Gemini Academy เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะแนะนำคนรุ่นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 96% ของผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมบอกว่า AI ช่วยสนับสนุนการสอนของตน
นอกจากนี้ Google ยังลดอุปสรรคในการศึกษาด้าน AI ด้วยการทำให้ทรัพยากรที่จำเป็นเข้าถึงได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น หลักสูตร Introduction to Generative AI Learning Path ผ่าน Google Cloud Skills Boost และ Google AI Essentials ที่เพิ่งเปิดตัวไป ซึ่งช่วยเสริมสร้างทักษะที่พร้อมรับอนาคตให้กับผู้คน โดยทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 10 ชั่วโมงและไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน
ในการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ด้าน AI อย่างเท่าเทียมต่อไป Google.org ได้เปิดตัวกองทุน AI Opportunity Fund มูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้าน AI ที่สำคัญและสร้างความมั่นใจให้กับแรงงานและผู้หางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่ขาดแคลนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
อีกหนึ่งโครงการริเริ่มที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยกและการเข้าถึง AI คือ ความร่วมมือระหว่าง Google กับ AI Singapore ในโครงการ SEALD เพื่อทำให้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ครอบคลุมผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นโดยปรับปรุงชุดข้อมูลสำหรับภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทยด้วย
ด้วยความพยายามที่ครอบคลุมเหล่านี้ Google กำลังส่งเสริมบุคลากรที่พร้อมสำหรับ AI ในประเทศไทย เสริมสร้างทักษะให้แก่บุคคลและชุมชนในการยอมรับศักยภาพการเปลี่ยนแปลงของ AI และมีส่วนร่วมต่อเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโต
ก้าวสู่ประเทศไทยที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างทั่วถึง สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาใช้ระบบ AI ตั้งแต่การปฏิวัติด้านการบริการดูแลสุขภาพไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตร ผลกระทบของ AI กำลังเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วประเทศ ซึ่งศักยภาพสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่อย่างมหาศาล
ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทำงานด้วยระบบ AI ของ Google กำลังเสริมศักยภาพให้ธุรกิจและบุคคล ด้วยการผลักดันนวัตกรรมและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการศึกษาด้าน AI กำลังเสริมสร้างความพร้อมด้าน AI ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ศักยภาพที่แท้จริงของ AI อยู่ที่การทำงานร่วมกัน ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และประชาชน ประเทศไทยจะสามารถรับมือกับความท้าทาย คว้าโอกาส และมั่นใจได้ว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการใช้ AI
ข้อมูลสำคัญ:
โพสต์นี้จัดเตรียมโดย Access Partnership สำหรับ Google ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้รับหรือประเมินจากการวิเคราะห์ของ Access Partnership โดยใช้ทั้งข้อมูลที่ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ Google และข้อมูลสาธารณะ Google ไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ หรือไม่ได้รับรองการประมาณการใดๆ ที่เกิดขึ้นในโพสต์นี้